Search This Blog

Monday, February 16, 2015

มูลค่าเพิ่มของศิลปะและการลงทุน -The added value of art and investment


       เมื่อวันที่ 4 ..58 ที่ผ่านมาผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปร่วมงานแสดงศิลปะไทยประเพณีร่วมสมัยThaiNeotraditional Art จัดที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย (MOCA) ซึ่งเป็นงานแสดงผลงาน
ของ6ศิลปินไทยประเพณีร่วมสมัย 6ท่าน ซึ่งเป็นผู้ร่วมรังสรรค์ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดพุทธปทีป 
กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้แก่
  1. อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์   ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ปี 2554
  2. อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร        ศิลปินแห่งชาติคนล่าสุดปี 2557
  3. อาจารย์เริงศักดิ์บุณยวาณิชย์กุล
  4. อาจารย์สมภพ  บุตราช 
  5. อาจารย์ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ
  6. อาจารย์อลงกรณ์ หล่อวัฒนา
บรรยากาศของงานเป็นยังไง อลังการแค่ไหน ผู้เขียนเก็บภาพถ่ายมาฝากนะคะ











        Highlight ของงานอยู่ที่ช่วงเวลา16.00. ที่ทางMOCA ได้รับเกียรติจากท่านอาจารย์ ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ประจำปี 2554 บรรยายให้แก่ผู้ร่วมงานได้รับฟังในหัวข้อ มูลค่าเพิ่มของศิลปะและการลงทุน ซึ่งเนื้อหาการบรรยายนี้ได้เปิดโลกทัศน์และมุมมองของผู้เขียนที่มีต่อศิลปะไปตลอดกาล เพราะในยุคปัจจุบัน ศิลปะมิได้เพียงทำหน้าที่ให้สุนทรียะแก่ผู้เสพผลงานและช่วยจรรโลงจิตใจสร้างความสุขแก่ศิลปินผู้สร้างผลงานและผู้ชื่นชมศิลปะอีกต่อไปเท่านั้น หากแต่ศิลปะได้กลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มและเป็นการลงทุนทางเลือกของนักลงทุนและนักสะสมศิลปะ ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งtrendการลงทุนในศิลปะนี้กำลังได้รับความนิยมและน่าจับตามองอย่างยิ่งในต่างประเทศ เรียกได้ว่าเม็ดเงินหมุนเวียนแต่ละปีนั้นมหาศาลจนน่าตกใจแต่สำหรับประเทศไทย ประชาชนยังไม่ได้ถูกส่งเสริมให้เสพงานศิลปะมากเท่าต่างประเทศทำให้วงการศิลปะไม่คึกคักเท่าที่ควรและศิลปินผู้สร้างงานยังขาดการสนับสนุนจนในที่สุดศิลปินมากมายต้องหยุดสร้างผลงานไปในที่สุด 
      
    เราลองมาฟังกันดูนะคะว่าท่านอาจารย์เฉลิมชัยท่านให้แนวคิดและมุมมองต่อมูลค่าเพิ่มของศิลปะและการลงทุน ไว้อย่างไรบ้าง รับฟังได้จากคลิปด้านล่างเลยนะคะ 


            Artist Talk | Thai Neotraditional โดยเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ | MOCA BANGKOK
              https://www.youtube.com/watch?v=HfdP1n5JeGA#t=24    

โดยผู้เขียนขออนุญาตสรุปประเด็นที่น่าสนใจโดยสังเขป ดังนี้ นะคะ

ให้ดูจากประวัติการได้รับรางวัล ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุนและแม้ศิลปินจะเลิกสร้างผลงานในที่สุดผลงานก็ยังราคาขึ้นในอนาคตรุ่นลูกหลานของเราได้ การทุ่มเทของศิลปิน ประวัติชีวิตที่น่าสนใจ การพัฒนาของการแสดงรูปของศิลปินว่าราคาผลงานแพงขึ้นหรือไม่
    2.ผู้ลงทุนควรชอบงานหลายแนวและเข้าใจศิลปะหลายแนว
    3.ให้เริ่มเก็บผลงานแท้ของศิลปินที่เริ่มมีชื่อเสียงก่อนเช่น ผลงานราคาหลักหมื่นซึ่งเป็นการช่วยศิลปินให้อยู่รอดและสร้างงานดีๆต่อไปอีกและแม้ว่าในอนาคตเราจะไม่สามารถซื้องานที่แพงขึ้นของศิลปินนั้นได้อีก ผลงานศิลปะที่มีเราเคยซื้อไว้แล้วนั้นก็อาจราคาแพงขึ้นได้และการซื้อรูป
ตอนแพงยากกว่าซื้อตอนราคาถูก ให้เราลองเริ่มเก็งกำไรโดยอาจลงทุน2-3 แสนบาท ขนาดเล็กหรือใหญ่ก็ได้ การขอซื้อรูปราคาไม่แพงจากศิลปินที่ได้รับรางวัล เพื่อให้ศิลปินเริ่มรู้จักเราก่อน แล้วให้เราเฝ้าดูปีต่อปีว่ามีแนวโน้มมูลค่าเพิ่มหรือไม่แล้วค่อยไล่ตามซื้อผลงานเพิ่ม ผลงานของศิลปินท่านไหนไม่มีแนวโน้มเพิ่มมูลค่าก็ข้ามไปแล้วไปเก็งการลงทุนกับศิลปินอื่นๆต่อ และหากศิลปินที่เราตามซื้อผลงานแล้วมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มก็จะขายผลงานให้เราเพิ่มในราคาที่ไม่แพง
อย่างไรก็ตาม แม้การลงทุนนั้นไม่เพิ่มมูลค่า การสะสมผลงานศิลปะที่เราชื่นชอบก็ช่วยให้เรามีความสุข
     4.ช่วงเริ่มต้นศิลปินเองต้องขายผลงานราคาไม่สูงกระจายไปยังผู้ซื้อให้เยอะๆก่อนแล้วค่อยทยอยปรับราคาขึ้น
   5. ศิลปินต้องรู้จักจังหวะ ไว้ตัว และรู้จักหยุดเมื่อขายภาพได้ในระดับหนึ่ง เมื่อคนถามจะขอซื้อต้องหยุดขายแล้วบอกจะขอเก็บก่อนบ้าง อย่านำผลงานเอามาโชว์หมด ให้เว้นระยะเวลาในการขายและขายแพงขึ้นและเก็บตัวสร้างผลงานต่อศิลปินต้องหลีกเลี่ยงการขายผลงานราคาแพงมากๆในชิ้นแรกแล้วลดราคาชิ้นที่2ลงมากๆ
    6. ผู้ลงทุนงานศิลปะต้องดูการตลาดของศิลปินนั้นๆด้วย เพราะศิลปินที่มีระบบการตลาดที่ดีจะช่วยให้การลงทุนของเรามีมูลค่าเพิ่ม
    7. มีคนรวยมากมายที่ชื่นชอบศิลปะแล้วยอมทุ่มซื้อผลงานแม้จะราคาแพงมาก
    8. ระวังอย่าฟังartcollector ใส่ร้ายศิลปิน เราต้องติดตามดูเองว่าศิลปินคนนั้นๆมีความมุ่งมั่นในการสร้างผลงานจริงหรือไม่และให้ผู้ลงทุนแยกแยะระหว่างนิสัยส่วนตัวของศิลปินกับผลงานของศิลปิน
    9. ศิลปินไทยมักมีปัญหาด้านการตลาด จึงต้องหมั่นฝึกการนำเสนอกับลูกค้าหลายๆระดับและการันตีชื่อเสียงเราในอนาคตบ่อยๆ ถ้าศิลปินชัดเจนพอในความมุ่งมั่น คนฉลาดในการลงทุนจะเชื่อแล้วซื้อผลงาน
    10. การตลาดแนวอาจารย์เฉลิมชัยจะเน้นขายผู้ซื้อที่พอจะมีฐานะ มากกว่าคนรวย เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อนั้นๆรวยขึ้น และความมั่นใจในผลงานของตัวเอง จึงทำให้สามารถเน้นขายที่ลูกค้าระดับล่างก่อนดีกว่า เพราะผู้ซื้อที่รวยยังไงก็กลับมาซื้ออยู่แล้วหากศิลปินโด่งดังทั้งนี้เพื่ออวดสถานะทางสังคม 


(** Copy Right Content by BAAN by JAI )


       เป็นยังไงกันบ้างคะ เรียกได้ว่าเนื้อหาจุใจและท่านอาจารย์ตีแผ่ทุกกลยุทธ์ทั้งสำหรับผู้ลงทุนในงานศิลปะและเทคนิคการตลาดสำหรับศิลปินผู้สร้างผลงานกันอย่างหมดเปลือกจริงๆ ผู้เขียนหวังว่าคงจะพอเป็นแนวทางให้เพื่อนๆพิจารณาเลือกลงทุนในศิลปะกันได้บ้างนะคะ....ขอให้รวยๆกันทุกคนนะคะ

No comments:

Post a Comment