ใครไม่เคยอู้งานยกมือขึ้น??ได้ยินคำถามแล้วคงยากที่พนักงานออฟฟิศอย่างเราๆท่านๆจะปฏิเสธได้ลงคอ การอู้งานดูจะเป็นโรคประจำตัวของคนทำงานทุกคนไม่เว้นแม้แต่ผู้บริหารลงมาจนถึงพนักงานระดับปฏิบัติการ
จะอู้บ่อยแค่ไหน อู้นานเท่าไหร่ อู้ชั่วคราว หรืออู้เรื้อรัง ขึ้นอยู่กับหลายเหตุหลายปัจจัย
ดังต่อไปนี้
- ความกดดันและความเครียดจากตัวของงานเอง
บางครั้งการอู้งานไม่ได้เลวร้ายเสมอไป เพราะหากพนักงานมีความเครียดจากงานการอู้งานก็ช่วยทำให้ผ่อนคลายอิริยาบถและจิตใจได้
- ปัญหาส่วนตัว
– เจ็บป่วย อกหัก
มีปัญหาการเงิน มีปัญหาในครอบครัว พักผ่อนน้อย เที่ยวดึกเมาค้าง
ทำให้ร่างกายและจิตใจไม่พร้อมที่จะทำงานและพะวงอยู่กับปัญหา
- มีปัญหากับเพื่อนร่วมงาน
ทำให้รู้สึกกดดันกับบรรยากาศในที่ทำงาน เข้าหน้าเพื่อนร่วมงานไม่ติดหรือพาลไปจนกระทั่งไม่อยากให้ความร่วมมือ
- เงินเดือน/โบนัสไม่เป็นไปตามที่หวัง – เป็นปัญหาสากลของทุกองค์กร
ซึ่งขึ้นกับหลายปัจจัย เช่นนโยบายหรือผลประกอบการบริษัทไม่ดี ทำเป้าในการขายแล้วไม่ได้ตามที่กำหนด
โดนลงโทษทางวินัยทำให้ถูกตัดโบนัส เป็นพนักงานที่อายุงานมากแต่พนักงานเข้าใหม่เงินเดือนแซงหน้าเพราะวุฒิการศึกษามากกว่า
หรือมีข้อตกลงตอนจ้างงานกับฝ่ายบุคคลด้วยค่าจ้างสูงกว่าทำให้รู้สึกไม่ยุติธรรมและโดนกินแรงจากเพื่อนร่วมแผนก
บางคนน่าสงสารหัวหน้างานลืมปรับฐานเงินเดือนให้ทำให้เงินเดือนถูกดองยาวในขณะที่งานเท่าเดิม
- ถ่วง แกล้งให้งานเสร็จช้าลงรอเวลาไว้เพื่อหวังเอาประโยชน์บางอย่าง
หรือทำให้ตัวเองดูมีความสำคัญ
- ขาดทักษะในการทำงาน
ไม่เข้าใจเนื้องานดีพอ แต่ก็ไม่ยอมถามผู้มอบหมาย
หรือถามแล้วผู้มอบหมายงานก็ไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้
- จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของงานไม่เป็น
ทำให้บริหารเวลาได้ไม่เหมาะสม
- การเมืองในที่ทำงาน
พนักงานขาดความสามัคคี พนักงานต่อต้านหัวหน้า ชิงดีชิงเด่นกัน
- ขาดแรงจูงใจ รู้สึกว่างานไม่ท้าทายมากพอหรือรู้สึกว่านี่ไม่ใช่งานในฝัน
- ระบบการประเมินผลงาน
การให้คุณให้โทษ ไม่ได้มาตรฐาน คนขยันกับคนขี้เกียจ คนมีวินัยกับคนขาดวินัยได้รับผลไม่ต่างกัน
ทำให้พนักงานคิดว่าว่าทำงานมากไปหรือมีวินัยมากไปก็เท่านั้น
- เป็นสัญญาณของการกำลังหางานใหม่หรือได้งานใหม่แล้ว – สัญญาณนี้เป็นสัญญาณอันตรายที่องค์กร หัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานต้องเฝ้าระวังเพราะทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งมีค่ามาก เพราะบางครั้งอาจร้ายแรงสุดถึงขนาดบางที่พนักงานทิ้งงานโดยออกจากงานดื้อๆไม่แจ้งลาออกล่วงหน้า ไม่ส่งต่องาน
- ผู้บริหารหรือหัวหน้างานไม่เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงาน อาทิ มาสายเป็นประจำ หยุดบ่อย ไม่หมั่นตรวจสอบพฤติกรรมลูกน้อง ไม่จัดลำดับงาน ไม่แจ้งขอบเขตและเป้าหมายของงานที่ชัดเจนไม่เป็นที่ปรึกษาที่ดี ขาดความยุติธรรม ขาดความหนักแน่นในการใช้ระบบให้คุณให้โทษ
เพื่อลดการอู้งานก่อนที่จะกลายเป็นอาการเรื้อรังและลุกลามส่งผลเสียหายกับพนักงาน ตัวงานและองค์กร
ทุกๆฝ่ายควรช่วยกัน ดังนี้
หัวหน้างานและองค์กร: ใส่ใจทีมงานมากขึ้นทั้งปัญหาส่วนตัวและหมั่นสังเกตพฤติกรรมการทำงาน ให้กำลังใจ สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้พนักงานได้รับการพัฒนาทักษะการทำงาน จัดทำแผนงานที่ดีที่มีเป้าหมายชัดเจน มีความยุติธรรมในการให้คุณให้โทษ สร้างบรรยากาศแห่งความสามัคคีในทีมงาน พยายามรับทราบความคืบหน้าและปัญหาในการทำงานของพนักงานให้ครอบคลุมที่สุดเพื่อการวางแผนขั้นต่อไปและหากมีกรณีพนักงานละทิ้งงานหรือออกจากงานกะทันหันจะได้สามารถดำเนินงานหรือมอบหมายงานให้พนักงานคนอื่นต่อได้ องค์กรควรจัดสรรให้มีสวัสดิการต่างๆมากขึ้น
เพื่อนร่วมงาน: เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนร่วมงาน ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ใส่ใจทุกข์สุขของเพื่อนร่วมงานและเป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็นพนักงานที่กระตือรือร้นให้กันและกัน คอยตักเตือนซึ่งกันและกัน
หัวหน้างานและองค์กร: ใส่ใจทีมงานมากขึ้นทั้งปัญหาส่วนตัวและหมั่นสังเกตพฤติกรรมการทำงาน ให้กำลังใจ สร้างแรงจูงใจ ส่งเสริมให้พนักงานได้รับการพัฒนาทักษะการทำงาน จัดทำแผนงานที่ดีที่มีเป้าหมายชัดเจน มีความยุติธรรมในการให้คุณให้โทษ สร้างบรรยากาศแห่งความสามัคคีในทีมงาน พยายามรับทราบความคืบหน้าและปัญหาในการทำงานของพนักงานให้ครอบคลุมที่สุดเพื่อการวางแผนขั้นต่อไปและหากมีกรณีพนักงานละทิ้งงานหรือออกจากงานกะทันหันจะได้สามารถดำเนินงานหรือมอบหมายงานให้พนักงานคนอื่นต่อได้ องค์กรควรจัดสรรให้มีสวัสดิการต่างๆมากขึ้น
เพื่อนร่วมงาน: เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนร่วมงาน ให้ความร่วมมือซึ่งกันและกัน ใส่ใจทุกข์สุขของเพื่อนร่วมงานและเป็นตัวอย่างที่ดีในการเป็นพนักงานที่กระตือรือร้นให้กันและกัน คอยตักเตือนซึ่งกันและกัน
ตัวพนักงานเอง: ต้องแบ่งเวลาในการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานให้มีสมดุล
มีความรอบคอบในการใช้ชีวิตเพื่อลดปัญหาส่วนตัวที่จะส่งผลกระทบต่องานประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ
ออกกำลังกาย มีกิจกรรมอดิเรกเพื่อลดความตึงเครียดและเพื่อสุขภาพร่างกายที่ดี
มีความจริงใจในการที่จะทำให้งานที่ได้รับมอบหมายลุล่วงด้วยการทำความเข้าใจเนื้องาน
รายงานปัญหาในการทำงานยังหัวหน้า ประเมินตนเองตลอดเวลาเพื่อขอโอกาสองค์กร/หัวหน้างานในการรับการพัฒนาทักษะหรืออบรมเพื่อให้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานดีขึ้นและเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพของตน
และเหนือสิ่งอื่นใดต้องพยายามเตือนใจตัวเองให้รับผิดชอบและซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
ทุกครั้งที่จะอู้งานจงถามตนเองเสมอว่า
“เราได้สร้างสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวดีแค่ไหน และเราได้ทำงานให้คุ้มค่ากับที่ได้รับจ้างมาแล้วหรือยัง
และเพื่อนร่วมงานหรือองค์กรจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากการอู้งานของเรา”
Original Content Copy Right By:
BAAN by JAI
No comments:
Post a Comment